จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

จุดประสงค์ มาตรฐานและคำอธิบายรายวิชา

จุดประสงค์ มาตรฐานและคำอธิบายรายวิชา

3105-0001 งานพื้นฐานวงจรไฟฟ้าและการวัด 3 (4)
(Basic Electric Circuits and Measurements)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
2. เพื่อให้มีความสามารถในการวัดและทดสอบวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการค้นคว้าเพิ่มเติม การทำงานด้วยความรอบคอบและปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงเบื้องต้น
2. วิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสสลับเบื้องต้น
3. วัดและทดสอบวงจรไฟฟ้ากระแสตรงด้วยเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
4. วัดและทดสอบวงจรไฟฟ้ากระแสสลับด้วยเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติกฎของโอห์ม การต่อวงจรความต้านทาน วงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้าและวงจรแบ่งกระแส วงจรบริดจ์ กฎของเคอร์ชอฟฟ์ ทฤษฎีของเทวินินและนอร์ตัน หลักการกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับพารามิเตอร์ของรูปคลื่นไซน์ เฟสเซอร์ไดอะแกรม อิมพีแดนซ์ วงจร R-C-L แบบอนุกรมและขนาน วงจรเรโซแนนซ์ วงจรฟิลเตอร์ โครงสร้าง หลักการทำงานและการใช้งานของโวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ และมัลติมิเตอร์ เครื่องกำเนิดสัญญาณและออสซิลโลสโคป
 


3105-0002 เขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ 2 (3)
(Electronic Drawing)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักการออกแบบในงานช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้มีทักษะในการเขียนแบบ อ่านแบบ ผลิตวงจรพิมพ์และงานซิลสกรีน
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการค้นคว้าเพิ่มเติม การทำงานด้วยความรอบคอบและปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา
1. เขียนรูปสัญลักษณ์ของวัสดุอุปกรณ์ในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานสากล
2. เขียนแบบและอ่านแบบงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3. ออกแบบและเขียนแบบแผ่นวงจรพิมพ์ขั้นพื้นฐานและซิลสกรีน


คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของวัสดุอุปกรณ์ในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล การเขียนแบบ และอ่านแบบในลักษณะของบล็อกไดอะแกรม (Block Diagram) สคีเมติกไดอะแกรม(Schematic Diagram) ซิงเกิลไลน์ไดอะแกรม (Single Line Diagram) วายริงไดอะแกรม (Wiring
Diagram) พิกทรอเรียลไดอะแกรม (Pictorial Diagram) ผังงาน (Flow Chart) การเขียนแบบและอ่านแบบระบบไฟฟ้าภายในอาคาร การเขียนแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน อุปกรณ์เครื่องสื่อสารและโทรคมนาคม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ ตลอดจนอุปกรณ์พิเศษทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การออกแบบ เขียนแบบ แผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Citcuit) ขั้นพื้นฐานและงานซิลสกรีน


 
3105-0003 งานพื้นฐานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2 (3)
(Basic Electronic Circuits)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการทำงาน คุณลักษณะทางไฟฟ้าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้มีความสามารถการนำวงจรเบื้องต้นของอุปกรณ์ต่าง ๆ ประยุกต์ใช้งานวิชาชีพ
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม ทำงานด้วยความรอบคอบและปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา
1. อธิบายโครงสร้าง หลักการทำงานและคุณลักษณะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2. วัดและทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
3. ประยุกต์ใช้งานวิชาชีพ
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติโครง สร้างสัญลักษณ์ คุณลักษณะทางไฟฟ้า การวัดและทดสอบและวงจรใช้งานเบื้องต้นของอุปกรณ์โซลิดสเตตต่าง ๆ เช่น ไดโอด ซีเนอร์ไดโอด ทรานซิสเตอร์ เฟต ไอซีออปแอมป์อุปกรณ์ไธริสเตอร์ เช่น SCR, TRIAC,DIAC และอุปกรณ์ OPTOELECTRONICS การใช้คู่มืออุปกรณ์


3105-2018 การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์ 2 (3)
(Electronic CAD)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเขียนแบบ การเขียนภาพและแสดงภาพ การจัดไฟล์ การพิมพ์ ในงานอิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเขียนแบบ การเขียนภาพและแสดงภาพ การจัดไฟล์ การพิมพ์ ในงานอิเล็กทรอนิกส์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. เลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการออกแบบและเขียนแบบ
2. จัดเตรียมและติดตั้งโปรแกรมเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
3. ออกแบบ และเขียนแบบระบบ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หน้าปัด แท่นเครื่อง
4. ออกแบบ และเขียนแบบวงจร Schematic โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
5. ออกแบบ และเขียนแบบลายวงจรพิมพ์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ การอ่านและเขียนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานเขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ชุดคำสั่งและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเขียนแบบและออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โปรแกรม Protel, OrCad,
Work Bench, Pspice หรือโปรแกรม Simulate ต่าง ๆ ในการออกแบบและทดลองวงจรทางด้านงานอิเล็กทรอนิกส์ งานด้านการเขียนแบบ Schematic, ลายวงจรพิมพ์, แผ่นภาพ Perspective, และการพิมพ์

3105-0004 งานพื้นฐานวงจรพัลส์และดิจิตอล 2 (3)
(Basic Pulse and Digital Circuits)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจการทำงานดิจิตอลเบื้องต้น และวงจรพัลส์ สวิตชิง
2. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้งานดิจิตอลและวงจรพัลส์ สวิตชิง
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการค้นคว้าเพิ่มเติม การทำงานด้วยความรอบคอบ และปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา
1. อธิบายหลักการทำงานดิจิตอลเบื้องต้น และวงจรพัลส์ สวิตชิง
2. วัดและทดสอบวงจรด้วยเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
3. ประยุกต์ใช้งานดิจิตอลและวงจรพัลส์ สวิตชิง
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ ระบบตัวเลข การเปลี่ยนฐานและการคำนวณเลขฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะเลขฐานสอง
ฐานสิบ และฐานสิบหก รหัสไบนารีต่างๆ ลอจิกเกตพื้นฐาน หลักการเขียน LOGIC EXPRESSION, LOGICDIAGRAM, CONTACT DIAGRAM, TIMING DIAGRAM และ TRUTH TABLE ของวงจรลอจิกการลดรูปสมการลอจิก วงจรดิจิตอลคอมบิเนชั่นและซีเควนเชียลเบื้องต้น สัญญาณไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ความหมายและความสัมพันธ์ของค่าพารามิเตอร์ วงจรแปลงรูปสัญญาณ หลักการของอิเล็กทรอนิกส์สวิตชิงลักษณะและการทำงานของวงจรมัลติไวเบรเตอร์ และไอซี ไทเมอร์


 

3105-0005 งานพื้นฐานระบบเสียงและระบบภาพ 3 (4)
(Basic Audio and Video System)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องวิทยุ เครื่องขยายเสียง เครื่องรับโทรทัศน์และวิดีโอเทป
2. วัดและทดสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้า วงจรเครื่องรับวิทยุ เครื่องขยายเสียง เครื่องรับโทรทัศน์และวิดีโอเทป
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการค้นคว้าเพิ่มเติม การทำงานด้วยความรอบคอบและปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา
1. อธิบายหลักการทำงานของเครื่องรับวิทยุ เครื่องขยายเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ และวิดีโอเทป
2. วัดและทดสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าของเครื่องรับวิทยุ เครื่องขยายเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ และวิดีโอเทป
3. ประยุกต์ใช้งานเครื่องรับวิทยุ เครื่องขยายเสียง และวิดีโอเทปในงานต่าง ๆ ได้
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ บล็อกไดอะแกรม หลักการทำงานของเครื่องรับวิทยุแบบ AM, FM และ FM MPX หลักการทำงานของเครื่องขยายเสียง การวัดและทดสอบคุณสมบัติของเครื่องขยายเสียง ระบบเสียงและอุปกรณ์ประกอบ หลักการทำงานของระบบโทรทัศน์ และการทำงานของวงจรภาคต่าง ๆ หลักการทำงานเบื้องต้นของเครื่องวิดีโอเทป



3105-1001 การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 3 (4)
(Electric Circuit Analysis)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์วงจรและโครงข่ายไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน วัด ทดสอบ วงจรและโครงข่ายไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
3. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลและเขียนรายงาน
4. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์คุณสมบัติทางไฟฟ้าและผลตอบสนองต่อไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับของโครงข่ายไฟฟ้า
2. วัด ทดสอบ คุณลักษณะทางไฟฟ้าและผลตอบสนองต่อไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ของวงจรตัวต้านทาน คาปาซิเตอร์ และอินดักเตอร์ วงจรแม่เหล็กไฟฟ้า
3. วิเคราะห์ผลของการทดสอบ ผลตอบสนองต่อไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ของวงจร ตัวต้านทาน คาปาซิเตอร์ อินดักเตอร์ และวงจรแม่เหล็กไฟฟ้า
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ทฤษฎีโครงข่าย(Network Theorems)ไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ คุณลักษณะทางไฟฟ้าและผลตอบสนองต่อไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับของวงจรตัวต้านทาน คาปาซิเตอร์ และอินดักเตอร์ วงจรแม่เหล็กไฟฟ้า กำลังไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรเรโซแนนซ์ ฟิลเตอร์ พารามิเตอร์ของวงจรสองทางเข้าออก (Two-Port Parameters) ระบบไฟฟ้าโพลีเฟส วงจรทรานสฟอร์เมอร์ วงจรคับเปิล สัญญาณไฟฟ้าที่ไม่เป็นรูปคลื่นไซน์และฮาร์โมนิกส์

 
3105-1002 เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2 (3)
(Electrical and Electronic Instruments)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการทำงานและการใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. กำหนดคุณลักษณะทั่วไปของเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2. จัดเตรียมและเลือกใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3. ออกแบบและติดตั้งเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
4. ใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ การวัด หน่วยของการวัดทางไฟฟ้า ความเที่ยงตรง และความแม่นยำในการวัด หลักการทำงาน โครงสร้าง การขยายย่านวัด การตรวจซ่อมและบำรุงรักษามัลติมิเตอร์ วัตต์มิเตอร์ ฟรีเควนซีมิเตอร์บริดจ์มิเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์มัลติมิเตอร์ การใช้ทรานสดิวเซอร์ในการวัด และเครื่องวัดอิเล็กทรอนิกส์กับงานอุตสาหกรรม



3105-1003 การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2 (3)
(Electronic Circuit Analysis)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจคุณสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำ
2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำ
3. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจรย่านความถี่ต่ำ
4. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์คุณสมบัติทางไฟฟ้าของไดโอด ทรานซิสเตอร์ และเฟต
2. วิเคราะห์วงจรแหล่งจ่ายกำลังและวงจรขยายย่านความถี่ต่ำ
3. ออกแบบวงจรแหล่งจ่ายกำลังและวงจรขยายย่านความถี่ต่ำ
4. วัดและทดสอบวงจรด้วยเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ คุณสมบัติทางไฟฟ้า พารามิเตอร์และการใช้งานของไดโอด ทรานซิสเตอร์และเฟตการแปลความหมายจาก DATA SHEET การให้ไบแอส การวิเคราะห์ และออกแบบ วงจรแหล่งจ่ายกำลังวงจรขยายในย่านความถี่ต่ำ สำหรับสัญญาณขนาดเล็ก วงจรขยายสัญญาณหลายภาค วงจรขยายเนกาทิฟฟีดแบ็ก และวงจรขยายกำลัง

 

3105-1004 ดิจิตอลเทคนิค 2 (3)
(Digital Techniques)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์และวงจรดิจิตอล
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติการออกแบบวงจรดิจิตอลคอมบิเนชันและซีเควนเชียล
3. เพื่อให้สามารถวัดและทดสอบอุปกรณ์และวงจรดิจิตอล
4. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์หลักการทำงานของอุปกรณ์และวงจรดิจิตอล
2. ออกแบบวงจรดิจิตอลแบบคอมบิเนชันและซีเควนเชียล
3. วัดและทดสอบอุปกรณ์และวงจรดิจิตอล
4. ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์และวงจรดิจิตอลในงานอุตสาหกรรม
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ การวิเคราะห์และออกแบบวงจรคอมบิเนชันและซีเควนเชียล การลดรูปสมการวงจรลอจิกเกต วงจรมัลติเพล็กซ์ วงจรดีมัลติเพล็กซ์ วงจรดีโคดเดอร์ วงจรเอ็นโคดเดอร์ วงจรโคดคอนเวอร์เตอร์ วงจรคอมพาเรเตอร์ วงจรโมโนสเตเบิล วงจรสร้างสัญญาณคล็อก ฟลิปฟลอป วงจรเคาน์เตอร์ วงจรชิพรีจิสเตอร์ บัฟเฟอร์ วงจรคำนวณทางคณิตศาสตร์ โครงสร้างและการใช้งานหน่วยความจำแบบต่าง ๆ วงจรแปลงสัญญาณระหว่างแอนะลอกกับดิจิตอล และการประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรม



 
3105-2001 การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง 2 (3)
(High Frequency Electronic Circuit Analysis)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติ การทำงานและการใช้งานของอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ในวงจรย่านความถี่สูง
2. เพื่อให้มีความสามารถวัดและทดสอบวงจรใช้งานของอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ในวงจรย่านความถี่สูง
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีตรอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. อธิบายคุณสมบัติทางไฟฟ้าและพารามิเตอร์ในย่านความถี่สูงของไดโอด ทรานซิสเตอร์และเฟต
2. วิเคราะห์และออกแบบวงจรย่านความถี่สูง เช่น วงจรออสซิเลเตอร์ วงจรขยายย่านความถี่สูง วงจรขยายแบบจูนด์ วงจรทวีความถี่ วงจรแมตชิงและฟิลเตอร์
3. ทดสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าและพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ในย่านความถี่สูง
4. ทดสอบวงจรใช้งานของอุปกรณ์ในวงจรย่านความถี่สูง
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาหลักการและปฏิบัติ การทดสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าและพารามิเตอร์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในย่านความถี่สูงของไดโอด ทรานซิสเตอร์ และเฟต การวิเคราะห์และออกแบบวงจรออสซิลเลเตอร์ วงจรขยายย่านความถี่สูง วงจรขยายแบบจูนด์ วงจรทวีความถี่ วงจรแมตชิง และฟิลเตอร์




3105-2002 พัลส์เทคนิค 2 (3)
(Pulse Techniques)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์รูปสัญญาณไฟฟ้าและวงจรพัลส์และสวิตชิง ในงานอิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานออกแบบวงจรพัลส์ได้ตามข้อกำหนด
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. สร้างรูปสัญญาณไฟฟ้าต่าง ๆ ตามข้อกำหนด
2. สร้างวงจรแปลงรูปสัญญาณไฟฟ้าตามข้อกำหนด
3. วัดและทดสอบคุณสมบัติวงจรพัลส์
4. ประยุกต์ใช้วงจรพัลส์ในงานอิเล็กทรอนิกส์
คำอธิบายรายวิชา
        ศึกษาหลักการและปฏิบัติ การออกแบบวงจรและสร้างรูปสัญญาณไฟฟ้าแบบต่าง ๆ วงจรแปลงรูปสัญญาณ วงจรคลิปเปอร์และแคลมเปอร์ วงจรลดทอนสัญญาณ วงจรอินทิเกรเตอร์ วงจรดิฟเฟอร์เรนชิเอเตอร์วงจรสวิตช์ ชมิตต์ทริกเกอร์ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ วงจรทริกเกอร์ วงจรสร้างสัญญาณไทม์เบสและการซิงค์โครไนซ์




3105-2003 ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี 2 (3)
(Op-Amp and Linear IC)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์คุณสมบัติวงจรออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานออกแบบและทดสอบวงจรออปแอมป์ในงานอิเล็กทรอนิกส์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. ออกแบบวงจรใช้งานออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
2. สร้างวงจรใช้งานออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
3. วัดและทดสอบวงจรใช้งานออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
4. ประยุกต์ใช้วงจรออปแอมป์และลิเนียร์ไอซีกับงานอุตสาหกรรม
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ วงจรดิฟเฟอร์เรนเชียลแอมปลิไฟเออร์ ออกแบบวงจรกรองความถี่ วงจรขยายสัญญาณไฟฟ้า วงจรสวิตช์ ชมิตต์ทริกเกอร์ วงจรเกต วงจรขยายสัญญาณหลายช่อง วงจรกำเนิดสัญญาณรูป
ไซน์ รูปสแควร์ รูปแรมพ์ วงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้าคงที่และกระแสไฟฟ้าคงที่ วงจรแปลงรูปคลื่นสัญญาณวงจรเฟสล็อกลูป วงจรซินทิไซเซอร์ และวงจรเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า



3105-2004 อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม 2 (3)
(Industrial Electronics)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์คุณสมบัติของอุปกรณ์เซนเซอร์ ทรานสดิวเซอร์ อุปกรณ์ไทริสเตอร์มอเตอร์ รีเลย์ และเพาเวอร์เซมิคอนดักเตอร์
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติ งานวัดทดสอบอุปกรณ์ วงจรขยายสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับ รีเลย์หลอดไฟฟ้า มอเตอร์ ในงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
3. ออกแบบ ทดสอบ และประยุกต์ใช้งานวงจรควบคุมอัตโนมัติ
4. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. ทดสอบคุณสมบัติอุปกรณ์เซนเซอร์ รีเลย์ อุปกรณ์แสดงผล และอุปกรณ์ขับเคลื่อนทางกลไก
2. ออกแบบวงจรควบคุมอัตโนมัติใช้ร่วมกับอุปกรณ์เซนเซอร์
3. ใช้เครื่องมือวัดรูปสัญญาณในระบบควบคุมอัตโนมัติ
4. ประยุกต์วงจรควบคุมอัตโนมัติโดยมีอุปกรณ์ตรวจจับและอุปกรณ์ขับเคลื่อน
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ คุณสมบัติอุปกรณ์เซนเซอร์ ขับเคลื่อนทางกลไก วงจรแปลงสัญญาณควบคุม
อุปกรณ์ไทริสเตอร์ และเพาเวอร์เซมิคอนดักเตอร์ ในระบบการควบคุมอัตโนมัติ


3105-2005 ระบบเสียง 2 (3)
(Audio Systems)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจเทคโนโลยีระบบเสียงและอุปกรณ์ประกอบ
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน วัด ทดสอบ และติดตั้ง ระบบเสียงและอุปกรณ์ประกอบ
3. เพื่อให้สามารถบำรุงรักษาระบบเสียง
4. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์ระบบเสียงและอุปกรณ์ประกอบ
2. วัด ทดสอบ ระบบเสียงและอุปกรณ์ประกอบ
3. ติดตั้ง ระบบเสียงและอุปกรณ์ประกอบ
4. บำรุงรักษาระบบเสียงและอุปกรณ์ประกอบ
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ การวิเคราะห์และออกแบบระบบเสียง คุณลักษณะของเครื่องเสียงและอุปกรณ์ประกอบในระบบเสียง ระบบไมโครโฟน ระบบลำโพง ระบบเสียงสาธารณะ ระบบเสียงห้องประชุม ห้องปฏิบัติการอะคูสติกส์ ระบบเทปบันทึกเสียง หลักการระบบเสียงดิจิตอล คอมแพ็กดิสก์ การใช้เครื่องมือวัดและทดสอบระบบเสียง การออกแบบและประมาณราคาการติดตั้งระบบเสียง



3105-2006 ระบบภาพ 2 (3)
(Video Systems)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจการทำงานของระบบสัญญาณภาพและอุปกรณ์ประกอบ
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน บันทึกภาพและตัดต่อภาพ
3. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ ตรวจซ่อม และบำรุงรักษาระบบภาพและอุปกรณ์ประกอบ
4. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์หลักการทำงานของระบบสัญญาณภาพและอุปกรณ์ประกอบ
2. บันทึกภาพและตัดต่อภาพ
3. วิเคราะห์ ตรวจซ่อมระบบภาพและอุปกรณ์ประกอบ
4. บำรุงรักษาระบบภาพและอุปกรณ์ประกอบ
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ สัญญาณภาพ หลักการกำเนิดสัญญาณภาพ กล้องโทรทัศน์ และการนำไปใช้งานเทคโนโลยีการบันทึกภาพและเสียง อุปกรณ์ประกอบ ตัดต่อสัญญาณภาพ การสร้างภาพพิเศษ ระบบเครื่องบันทึกภาพ การวิเคราะห์วงจรและระบบกลไก ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องเทปบันทึกภาพ ระบบวิดีโอดิสก์ วิดีโอโปรเจกเตอร์ เครื่องมือวัด และเทคนิคการวัด ทดสอบระบบภาพ การเลือกระบบภาพไปใช้งาน



3105-2007 เทคนิคเครื่องรับส่งวิทยุ 2 (3)
(Radio Receiver and Transmitter Techniques)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการทำงาน การติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานวัด ทดสอบ และการบำรุงรักษา เครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย มีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์หลักการทำงาน วงจรการรับ-ส่งวิทยุ AM FM ในระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุสื่อสาร
2. วัดและทดสอบเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร Single Side Band
3. วัดและทดสอบการรับ-ส่ง วิทยุสื่อสาร ตลอดการสังเคราะห์ความถี่
4. วัดและทดสอบระบบการสื่อสารทางวิทยุ เช่น Repeater, Mobile
5. วัดและทดสอบระบบวิทยุโทรศัพท์เซลลูลาร์
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ วงจรและการทำงานของเครื่องรับ-ส่ง Single Side Band เครื่องรับ-ส่งวิทยุ AM,FMระบบวิทยุกระจายเสียง ระบบสังเคราะห์ความถี่ ระบบสื่อสารทางวิทยุเช่น Repeater, Mobile, Cellular ระบบวิทยุโทรศัพท์ เครื่องมือวัดและทดสอบที่เกี่ยวข้อง การวัดและใช้เครื่องมือตรวจสอบเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสารทั่วๆ ไป ตลอดจนการตรวจซ่อมและบำรุงรักษา




3105-2008 ระบบโทรคมนาคม 2 (3)
(Telecommunication Systems)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการเครื่องรับ-ส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุสื่อสาร และระบบโทรคมนาคม
2. เพื่อให้มีความสามารถวัดและทดสอบระบบการรับส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุสื่อสาร
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย มีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์หลักการ รับ-ส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุสื่อสาร
2. ทดสอบคุณสมบัติ โทรเลข โทรพิมพ์ โทรภาพ
3. ทดสอบระบบสื่อสารข้อมูล โครงข่ายโทรคมนาคม
4. ทดสอบระบบโทรทัศน์ ระบบการรับ-ส่ง สัญญาณดาวเทียม
คำอธิบายรายวิชา
         ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับแถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การนำไปใช้งาน การแพร่กระจายคลื่นวิทยุ ระบบวิทยุกระจายเสียง ระบบวิทยุสื่อสาร กฎข้อบังคับและมาตรฐานในระบบโทรคมนาคม ระบบโทรเลข โทรพิมพ์และโทรภาพ ระบบสื่อสารข้อมูล เช่นมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูล เป็นต้น โครงข่ายโทรคมนาคมและการให้บริการด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีระบบโทรทัศน์ ระบบการรับส่งสัญญาณดาวเทียม



3105-2009 ระบบโทรศัพท์ 2 (3)
(Telephone Systems)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจ หลักการทำงานของเครื่องโทรศัพท์ ระบบชุมสาย และระบบโทรศัพท์
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน ตรวจซ่อมเครื่องโทรศัพท์ ระบบชุมสาย และระบบโทรศัพท์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย มีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์หลักการทำงานของเครื่องโทรศัพท์ ชุมสายโทรศัพท์แบบต่าง ๆ
2. ตรวจซ่อมโทรศัพท์แบบ Pulse , DTMF
3. วัดและทดสอบระบบชุมสายโทรศัพท์แบบ Manual Operator
4. วัดและทดสอบระบบชุมสายโทรศัพท์แบบอัตโนมัติเช่น PABX, Cross Bar , SPC
5. วัดและทดสอบระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์, ระบบ ISDN
คำอธิบายรายวิชา
     ศึกษาและปฏิบัติการวัดและทดสอบเกี่ยวกับวงจรและการทำงานของเครื่องโทรศัพท์แบบต่าง ๆ เช่นPulse, DTMF ระบบชุมสายโทรศัพท์เช่น Manual Operator, อัตโนมัติ(PABX, Cross Bar, SPC) ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ ระบบ ISDN

 

3105-2010 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 (3)
(Computer Network Systems)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจการติดต่อสื่อสารระหว่างไมโครคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ รู้จักหน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารและมาตรฐานต่าง ๆ ของอุปกรณ์สื่อสารในระบบNetwork
2. เพื่อให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์และโปรแกรม เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายทั้งในระยะใกล้และไกล โดยผ่านโมเด็ม เราน์เตอร์ ฯลฯ และสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุข้อขัดข้องของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. ออกแบบและวางผังระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. จัดเตรียมและเลือกใช้อุปกรณ์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3. ติดตั้งและทดสอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
4. ติดตั้งโปรแกรมควบคุมและใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5. บำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ การเลือกใช้และติดตั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software ทดสอบคุณลักษณะทั่วไปและตรวจสอบความถูกต้องของอุปกรณ์ Hardware และ Software การออกแบบระบบเครือข่าย การติดต่อสื่อสารระหว่างไมโครคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ การส่งสัญญาณแบบแอนะลอกและดิจิตอล OSI Model,Protocol TCP/IP, LAN, Network Topology WAN, VLAN, VPN (Virtual Private Network), ATM(Asynchronous Transfer Mode), ISDN, ADSL, FDDI, มาตรฐานการสื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เช่นIEEE802.X, IEEE Series, V Series, X Series etc. อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก เช่น Hub, Switching Hub, Bridge, Router,Fiber Optics, Modem ฯ การติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การจัดระบบเครือข่าย การติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย การวิเคราะห์หาสาเหตุและการแก้ไขเมื่อระบบเครือข่ายขัดข้อง



3105-2012 ไมโครโพรเซสเซอร์ 2 (3)
(Microprocessor)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างและสถาปัตยกรรม หลักการเชื่อมต่อกับหน่วยความจำ อุปกรณ์อินพุต-เอาต์พุต และชิพสนับสนุน (Chip Support) ของไมโครโพรเซสเซอร์
2. เพื่อให้เข้าใจชุดคำสั่งและการเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีของไมโครโพรเซสเซอร์
3. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ในงานต่าง ๆ
4. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์หลักการทำงานของไมโครโพรเซสเซอร์
2. ออกแบบวงจรเชื่อมต่อไมโครโพรเซสเซอร์กับหน่วยความจำ พอร์ตอินพุต-เอาต์พุต และชิพสนับสนุน (Chip Support)
3. เขียนโปรแกรมให้ไมโครโพรเซสเซอร์ติดต่อกับหน่วยความจำ อินพุต-เอาต์พุต และชิพสนับสนุน (Chip Support)
4. ประยุกต์ใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ในงานต่าง ๆ
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ โครงสร้างและสถาปัตยกรรมไมโครโพรเซสเซอร์ สัญญาณและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของไมโครโพรเซสเซอร์ ระบบบัสและการเชื่อมต่อไมโครโพรเซสเซอร์กับหน่วยความจำและอุปกรณ์อินพุต-เอาต์พุต หลักการรับและส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก การอินเทอร์รัพต์และกระบวนการดีเอ็มเอ การอ้างตำแหน่ง (Addressing) ชุดคำสั่งและการเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีของไมโครโพรเซสเซอร์ หลักการออกแบบวงจรเชื่อมต่อระหว่างไมโครโพรเซสเซอร์กับชิพสนับสนุน (ChipSupport) การแปลงสัญญาณระหว่างแอนะลอกกับดิจิตอล การประยุกต์ใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ในการควบคุมอุปกรณ์ภายนอก



3105-2014 ไมโครคอนโทรลเลอร์ 2 (3)
(Microcontroller)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างและหลักการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ การใช้ชุดคำสั่ง การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์กับงานอื่น ๆ
2. เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมควบคุม วิเคราะห์และทดสอบระบบการทำงาน ประยุกต์ไมโครคอนโทรลเลอร์กับงานอื่น ๆ
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์และออกแบบวงจรโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์
2. เลือกใช้อุปกรณ์หรือไอซีได้อย่างเหมาะสมกับระบบควบคุมที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์
3. ประกอบและติดตั้ง อุปกรณ์ วงจรไมโครคอนโทรลเลอร์
4. ทดสอบและบำรุงรักษา อุปกรณ์ วงจรไมโครคอนโทรลเลอร์
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ โครงสร้างและสถาปัตยกรรมของไมโครคอนโทรลเลอร์ ลักษณะสัญญาณและกระบวนการทำงาน การรับ-ส่งข้อมูลกับอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก ชุดคำสั่ง และการเขียนโปรแกรม การวัดและทดสอบวงจรใช้งานของไมโครคอนโทรลเลอร์ การประยุกต์ใช้งานของไมโครคอนโทรลเลอร์



3105-2017 ระบบสื่อสารดิจิตอล 2 (3)
(Digital Communication Systems)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจ หลักการทำงานของวงจรมอดูเลชันและดีมอดูเลชันในเชิงคณิตศาสตร์ของระบบ PAM, PPM, PWM, FSK, PSK, ASK, TDM และ PCM
2. เพื่อให้สามารถวัดและทดสอบระบบมอดูเลชันในระบบสื่อสารดิจิตอล
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย มีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์หลักการทำงานของระบบสื่อสารดิจิตอล
2. วัดและทดสอบการมอดูเลชันในระบบสื่อสารดิจิตอลด้วยเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
3. วัดและทดสอบการดีมอดูเลชันในระบบสื่อสารดิจิตอลด้วยเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ การมอดูเลชันและดีมอดูเลชันในเชิงคณิตศาสตร์ วงจร PAM (Pulse AmplitudeModulation), PPM (Pulse Position Modulation), PWM (Pulse Width Modulation), FSK(Frequency ShiftKeying), PSK (Phase Shift Keying),และ ASK (Amplitude Shift Keying) , TDM (Time Division Multiplex)ระบบ PCM(Pulse Code Modulation) การวัดและทดสอบวงจรมอดูเลชันและดีมอดูเลชัน ในระบบสื่อสารดิจิตอลด้วยเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง



3105-2019 คณิตศาสตร์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3 (3)
(Electric & Electronic Mathematics)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการของสมการดิฟเฟอเรนเชียล การแปลงลาปลาส ฟูเรียร์ และการวิเคราะห์นูเมอริคอล
2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า และสัญญาณไฟฟ้าโดยการแก้สมการดิฟเฟอเรนเชียล การแปลงลาปลาส ฟูเรียร์ และการวิเคราะห์นูเมอริคอล
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์ทรานเซียนต์ในวงจรไฟฟ้าด้วยเทคนิคการแก้สมการดิฟเฟอเรนเชียล
2. วิเคราะห์วงจรไฟฟ้าและระบบลิเนียร์ด้วยเทคนิคการแปลงลาปลาส
3. วิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้าด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ฟูเรียร์
4. วิเคราะห์ปัญหาทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์นูเมอริคอล
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษา การวิเคราะห์ทรานเซียนต์ในวงจรไฟฟ้าด้วยสมการดิฟเฟอเรนเชียล การแปลงลาปลาส การวิเคราะห์สัญญาณด้วยฟูเรียร์ การวิเคราะห์นูเมอริคอล



3105-2020 พื้นฐานสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 3 (3)
(Electromagnetic Field Fundamental)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการพื้นฐานสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์สนามไฟฟ้าสถิต ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เวกเตอร์
2. วิเคราะห์สนามแม่เหล็กสถิต ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เวกเตอร์
3. วิเคราะห์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เวกเตอร์และสมการแมกซ์เวลล์
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษา หลักการวิเคราะห์เวกเตอร์ ระบบ Coordinate และการแปลง เวกเตอร์แคลคูลัส สนามไฟฟ้าสถิต สนามไฟฟ้าในวัสดุ สนามแม่เหล็กสถิต แรง วัสดุและอุปกรณ์แม่เหล็ก สมการแมกซ์เวลล์ และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า



3105-2201 งานบริการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 3 (4)
(Computer and Peripheral Devices Services)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ
2. เพื่อให้สามารถปฎิบัติการเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบ การประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ การ
ติดตั้งและทดสอบการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. จัดเตรียมและเลือกใช้อุปกรณ์ Hard ware และ Soft ware ตามความต้องการของระบบงาน
2. ทดสอบคุณลักษณะทั่วไปและตรวจสอบความถูกต้องของอุปกรณ์ Hard ware และ Soft wareของคอมพิวเตอร์
3. ประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์
4. ติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ใช้งานเบื้องต้น
5. ทดสอบและแก้ไขการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
6. บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ ลักษณะสมบัติของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ การเลือกใช้หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรอง อุปกรณ์รอบข้างคอมพิวเตอร์ ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ เครื่องอ่านแลเขียน
บาร์โคด, สแกนเนอร์, เครื่องอ่านและเขียน CD-ROM เป็นต้น การประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ติดตั้งอุปกรณ์ประกอบกับคอมพิวเตอร์ การเตรียมอุปกรณ์สำหรับติดตั้งระบบ การเตรียมระบบและการทดสอบการทำงาน ติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใช้งานอุปกรณ์ประกอบ การวิเคราะห์ข้อขัดข้องและการแก้ปัญหา


3105-2202 งานบริการระบบอินเทอร์เน็ต 3 (4)
(Internet System Services)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจการวางผัง การเลือกใช้อุปกรณ์และการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติการติดตั้งระบบและให้บริการการใช้งานอินเทอร์เน็ตในด้านการสืบค้นข้อมูล การรับ-ส่งข่าวสาร และสามารถสร้าง Home Page
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. ออกแบบและวางผังระบบอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
2. จัดเตรียมและเลือกใช้อุปกรณ์ระบบอินเทอร์เน็ตตามที่ออกแบบไว้
3. ติดตั้งและทดสอบระบบอินเทอร์เน็ตตามที่ออกแบบไว้
4. ติดตั้งโปรแกรมควบคุมและใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
5. สืบค้นข้อมูล รับ-ส่งข่าวสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และสร้าง Home Page
6. บำรุงรักษาระบบอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติ พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต การออกแบบและวางผัง การจัดเตรียมและเลือกใช้อุปกรณ์ การติดตั้งและทดสอบระบบอินเทอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การใช้โปรแกรมอัพโหลด-ดาวน์โหลดข้อมูล เช่น Cute-FTP, WS-FTP เป็นต้น ศึกษาWorld Wide Web (WWW) และใช้โปรแกรมสำหรับสร้าง Home Page เช่น Dream weaver, Front Pageเป็นต้น



3105–2205 ปัญหาพิเศษคอมพิวเตอร์ 1 3 (4)
(Special Problems in Computer 1)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการวิเคราะห์และแก้ปัญหาพิเศษในงานคอมพิวเตอร์
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติการวิเคราะห์และแก้ปัญหาพิเศษในงานคอมพิวเตอร์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงานและมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์ปัญหาพิเศษในงานคอมพิวเตอร์
2. ค้นคว้า ทดลองในงานคอมพิวเตอร์
3. รายงานผลการปฏิบัติงาน และนำเสนอ
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา การค้นคว้า ทดลอง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลหัวข้องานพิเศษด้านงานคอมพิวเตอร์ ตามความเหมาะสม



3105–2207 วิทยาการก้าวหน้าคอมพิวเตอร์ 1 3 (4)
(Advance Topics in Computer 1)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจวิทยาการก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติการค้นคว้าและหาความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงานและมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. ค้นคว้าหาความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมในลักษณะต่าง ๆ
2. รายงานผลการค้นคว้าและนำเสนอผลงาน
คำอธิบายรายวิชา
รายวิชานี้เป็นรายวิชาที่จัดไว้สำหรับรองรับความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีความสำคัญต่อวงการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และมิได้มีไว้ในรายวิชาของหลักสูตรนี้ รายละเอียดของเนื้อหาให้จัดตามความเหมาะสม


3105-4201 ปฏิบัติงานเทคนิคคอมพิวเตอร์ 1 4 (*)
(Computer Techniques Apprenticeship 1)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการวางแผน วิเคราะห์ แก้ปัญหา รวมทั้งการควบคุมคุณภาพงานคอมพิวเตอร์ด้านไมโครโพรเซสเซอร์และการใช้งาน
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ด้านไมโครโพรเซสเซอร์และการใช้งาน ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา รวมทั้งการควบคุมคุณภาพงาน
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วิเคราะห์งานคอมพิวเตอร์ ด้านไมโครโพรเซสเซอร์และการใช้งาน
2. ปฏิบัติงานวางแผน แก้ปัญหา และควบคุมคุณภาพงานคอมพิวเตอร์ ด้านไมโครโพรเซสเซอร์และการใช้งาน
3. สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ด้านไมโครโพรเซสเซอร์และการใช้งาน
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ งานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านไมโครโพรเซสเซอร์และการใช้งาน


3105–6001 โครงการ 4 (*)
(Project)
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้เกิดความตระหนักและมีความคิดริเริ่มการพัฒนางานในสาขาวิชาชีพ
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติการวางแผน ทำรายงาน นำเสนอผลงาน แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงาน
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงานและมีจริยธรรมในงานอาชีพ
มาตรฐานรายวิชา
1. วางแผนและนำเสนอโครงการ
2. ออกแบบและสร้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในงานอาชีพที่เกี่ยวข้อง
3. รายงานผลการปฏิบัติงาน และนำเสนอผลงาน
คำอธิบายรายวิชา
ให้นักศึกษานำความรู้จากรายวิชาต่าง ๆ ประยุกต์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี วางแผน นำเสนอโครงการ ผลงานทางวิชาการ การออกแบบ การสร้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในงานอาชีพที่เกี่ยวข้อง ให้เสร็จในเวลาที่กำหนด โดยรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ตลอดการทำโครงการและนำเสนอผลงานให้คณะกรรมการประเมินผล