จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

หลักสูตร เทคนิคคอมพิวเตอร์



หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศักราช 2546
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม


สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์


กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 พัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อผลิตกำลังคนระดับผู้ชำนาญการที่มีความรู้ ความชำนาญในวิชาชีพ มีคุณธรรม วินัย เจตคติ บุคลิกภาพ และเป็นผู้มีปัญญาที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกระบบและวิธีการเรียนได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ ความสนใจและโอกาสของตน ส่งเสริมการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ระหว่างสถาบัน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติ ท้องถิ่นและชุมชน
การพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สำเร็จลงได้ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยราชการ สถาบันการศึกษา อาจารย์ผู้สอน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนโดยเฉพาะคณะกรรมการดังรายนามที่ปรากฏ ซึ่งได้อุทิศสติปัญญา ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนสละเวลามาช่วยงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศชาติเป็นสำคัญ กระทรวงศึกษาธิการจึงขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกท่านเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
 

กระทรวงศึกษาธิการ  2546
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศักราช 2546
หลักการ
1. เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตและพัฒนาแรงงานระดับผู้ชำนาญการเฉพาะสาขาอาชีพ สอดคล้องกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นหัวหน้างานหรือเป็นผู้ประกอบการได้
2. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะในการประกอบอาชีพ มีความรู้เต็มภูมิ ปฏิบัติได้จริงและเข้าใจชีวิต
3. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการวิชาชีพมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนวิชาชีพสามารถถ่ายโอน ประสบการณ์การเรียนรู้จากสถานประกอบการ และสามารถสะสมการเรียนรู้และประสบการณ์ได้

 จุดหมาย
1. เพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
2. เพื่อให้มีทักษะและสมรรถนะในงานอาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ
3. เพื่อให้สามารถบูรณาการความรู้ ทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ในงานอาชีพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
4. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในงานอาชีพ รักงาน รักองค์กร สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี และมีความภาคภูมิใจในตนเองต่อการเรียนวิชาชีพ
5. เพื่อให้มีปัญญา ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการจัดการ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา รู้จักแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ มาพัฒนาตนเอง ประยุกต์ใช้ความรู้ในการสร้างงานให้สอดคล้องกับวิชาชีพ และการพัฒนางานอาชีพอย่างต่อเนื่อง
6. เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ มีวินัย มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ เหมาะสมกับการปฏิบัติในอาชีพนั้น ๆ
7. เพื่อให้เป็นผู้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีงาม ทั้งในการทำงาน การอยู่ร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว องค์กร ท้องถิ่นและประเทศชาติ อุทิศตนเพื่อสังคม เข้าใจและเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักในปัญหาและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
8. เพื่อให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นกำลังสำคัญในด้านการผลิตและให้บริการ
9. เพื่อให้เห็นคุณค่าและดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546
1. การเรียนการสอน
1.1 การเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้ ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุกวิธีเรียนที่กำหนด และนำผลการเรียนแต่ละวิธีมาประเมินผลร่วมกันได้ สามารถโอนผลการเรียน และขอเทียบความรู้และประสบการณ์ได้
1.2 การจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง โดยสามารถนำรายวิชาไปจัดฝึกในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน
2. เวลาเรียน
2.1 ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ ให้แบ่งภาคเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียนปกติ ภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ โดยมีเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิตตามที่กำหนด และสถานศึกษาอาจเปิดสอนภาคเรียนฤดูร้อนได้อีกตามที่เห็นสมควร ประมาณ 5 สัปดาห์
2.2 การเรียนในระบบชั้นเรียน ให้สถานศึกษาเปิดทำการสอนไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 5 วันคาบละ 60 นาที           (1 ชั่วโมง)
2.3 เวลาเรียนตามปกติ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าในประเภทวิชาและสาขาวิชาที่กำหนด 2 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพต่างประเภทวิชา/สาขาวิชาที่กำหนด ประมาณ 3 ปี
3. หน่วยกิต
ให้มีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 85 หน่วยกิต และไม่เกิน 100 หน่วยกิตการคิดหน่วยกิตถือเกณฑ์ดังนี้
3.1 รายวิชาภาคทฤษฎี 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงมีค่า 1 หน่วยกิต
3.2 รายวิชาที่ประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้บูรณาการการเรียนการสอน กำหนด 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า 40 - 60 ชั่วโมง มีค่า 1 หน่วยกิต
3.3 รายวิชาที่นำไปฝึกงานในสถานประกอบการ กำหนดเวลาในการฝึกปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง มีค่า 1 หน่วยกิต
3.4 การฝึกอาชีพในระบบทวิภาคี ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง มีค่า 1 หน่วยกิต
3.5 การทำโครงการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
4. โครงสร้าง
โครงสร้างของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 แบ่งเป็น 3 หมวดวิชาฝึกงาน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังนี้
4.1 หมวดวิชาสามัญ
4.1.1 วิชาสามัญทั่วไป เป็นวิชาที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
4.1.2 วิชาสามัญพื้นฐานวิชาชีพ เป็นวิชาที่เป็นพื้นฐานสัมพันธ์กับวิชาชีพ
4.2 หมวดวิชาชีพ แบ่งเป็น
4.2.1 วิชาชีพพื้นฐาน เป็นกลุ่มวิชาชีพสัมพันธ์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นในประเภทวิชานั้น ๆ
4.2.2 วิชาชีพสาขาวิชา เป็นกลุ่มวิชาชีพหลักในสาขาวิชานั้น ๆ
4.2.3 วิชาชีพสาขางาน เป็นกลุ่มวิชาชีพที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเฉพาะด้านในงานอาชีพตามความถนัดและความสนใจ
4.2.4 โครงการ
4.3 หมวดวิชาเลือกเสรี
4.4 ฝึกงาน
4.5 กิจกรรมเสริมหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตและรายวิชาของแต่ละหมวดวิชาตลอดหลักสูตร ให้เป็นไปตามกำหนดไว้ในโครงสร้างของแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา ส่วนรายวิชาแต่ละหมวดวิชา สถานศึกษาสามารจัดตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร หรือจัดตามความเหมาะสมของสภาพท้องถิ่น ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องกำหนดรหัสวิชา จำนวนคาบเรียนและจำนวนหน่วยกิต ตามระเบียบที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
5. โครงการ
5.1 สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทำโครงการในภาคเรียนที่ 4 ไม่น้อยกว่า 160 ชั่วโมงกำหนดให้มีค่า 4 หน่วยกิต
5.2 การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น
6. ฝึกงาน
6.1 ให้สถานศึกษานำรายวิชาในหมวดวิชาชีพไปจัดฝึกในสถานประกอบการ อย่างน้อย 1 ภาคเรียน
6.2 การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น
7. การเข้าเรียน
ผู้เข้าเรียนต้องมีพื้นความรู้และคุณสมบัติ ดังนี้
7.1 พื้นความรู้
สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าผู้เข้าเรียนที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพต่างประเภทวิชาและสาขาวิชาที่กำหนด ต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพให้ครบตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชาการเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในแต่ละสาขาวิชา
7.2 คุณสมบัติ
ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 .. 2546
8. การประเมินผลการเรียน
ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 .. 2546
9. กิจกรรมเสริมหลักสูตร
สถานศึกษาต้องจัดให้มีกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ระเบียบวินัยของตนเอง การสัมมนาและการส่งเสริมการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทำประโยชน์ต่อชุมชน ทำนุบำรุงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน ลงมือปฏิบัติประเมินผล และปรับปรุงการทำงาน ไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง
10. การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
10.1 ประเมินผ่านรายวิชาในหมวดวิชาสามัญ หมวดวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรี ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
10.2 ได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบตามโครงสร้างของหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
10.3 ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
10.4 เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรและผ่านการประเมินตามที่กำหนด
10.5 ประเมินผ่านมาตรฐานวิชาชีพสาขาวิชา



หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
จุดประสงค์
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยวิศวกรหรือประกอบอาชีพส่วนตัว มีความรู้ ความสามารถ เจตคติและประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้มีความรู้ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับ ภาษา สังคม มนุษยศาสตร์ คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ นำไปใช้ในการค้นคว้า พัฒนาตนเองและวิชาชีพ อิเล็กทรอนิกส์ ให้เกิดความเจริญก้าวหน้า
2. เพื่อให้มีความรู้ และทักษะในหลักการและกระบวนการทำงานพื้นฐานของช่างเทคนิคที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ และการวางแผนในงานอุตสาหกรรม และสามารถติดตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนำมาพัฒนางานอาชีพ อิเล็กทรอนิกส์ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. เพื่อให้มีความคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา สร้างสรรค์ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนางานอิเล็กทรอนิกส์
4. เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม มีคุณธรรมจริยธรรม และกิจนิสัยที่ดีในงานอาชีพ
5. เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพในสถานประกอบการอุตสาหกรรม หรือสร้างสรรค์หรือประกอบอาชีพอิสระในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์

มาตรฐานวิชาชีพ
1. สื่อสารทางเทคนิคในงานอาชีพ
2. จัดการระบบฐานข้อมูลในงานอาชีพ
3. แก้ปัญหาโดยใช้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการแก้ปัญหา
4. จัดการ ควบคุม และพัฒนาคุณภาพงาน
5. แสดงบุคลิกภาพและคุณลักษณะของช่างเทคนิค
6. ติดตั้งทดสอบ วิเคราะห์ อุปกรณ์และวงจรอิเ ล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือวัด
7. ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ และบำรุงรักษา ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
8. ติดตั้ง ควบคุม ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
9. บำรุงรักษา ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์




โครงสร้าง
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ต้องศึกษารายวิชาในหมวดวิชาต่าง ๆ และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร รวมไม่น้อยกว่า 92 หน่วยกิต ดังโครงสร้างต่อไปนี้
1. หมวดวิชาสามัญ ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
1.1 วิชาสามัญทั่วไป ( 13 หน่วยกิต )
1.2 วิชาสามัญพื้นฐานวิชาชีพ (ไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต )
2. หมวดวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 62 หน่วยกิต
2.1 วิชาชีพพื้นฐาน ( 15 หน่วยกิต )
2.2 วิชาชีพสาขาวิชา ( 28 หน่วยกิต )
2.3 วิชาชีพสาขางาน (ไม่น้อยกว่า 15หน่วยกิต )
2.4 โครงการ ( 4 หน่วยกิต )
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
4. ฝึกงาน (ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน)
5. กิจกรรมเสริมหลักสูตร 120 ชั่วโมง
รวม ไม่น้อยกว่า 92 หน่วยกิต
โครงสร้างนี้สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าในประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์


รายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาหรือสาขาวิชาอื่นหรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (.6) หรือเทียบเท่า จะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพต่อไปนี้
รหัส  ชื่อวิชา หน่วยกิต (ชั่วโมง)
3100-0001 งานเทคนิคพื้นฐาน 3 (5)
3100-0002 เขียนแบบเทคนิค 2 (4)
3100-0003 งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2 (4)
3105-0001 งานพื้นฐานวงจรไฟฟ้าและการวัด 3 (4)
3105-0002 เขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ 2 (3)
3105-0003 งานพื้นฐานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2 (3)
3105-0004 งานพื้นฐานวงจรพัลส์และดิจิตอล 2 (3)
3105-0005 งานพื้นฐานระบบเสียงและระบบภาพ 3 (4)
รวม 19 (30)
1. หมวดวิชาสามัญ 24 หน่วยกิต
1.1 วิชาสามัญทั่วไป ( 13 หน่วยกิต )
รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต (ชั่วโมง)
3000-110X กลุ่มวิชาภาษาไทย 3 (3)
3000-1201 ทักษะพัฒนาเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ 1 2 (3)
3000-1202 ทักษะพัฒนาเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ 2 2 (3)
3000-1301 ชีวิตและวัฒนธรรมไทย 1 (1)
3000-130X กลุ่มวิชาสังคมศึกษา 2 (2)
3000-1601 ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ 1 (1)
3000-160X กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 2 (2)
1.2 วิชาสามัญพื้นฐานวิชาชีพ (ไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต )
รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต (ชั่วโมง)
3000-122X กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ 1 (2)
3000-122X กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ 1 (2)
3000-142X กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ 3 (4)
3000-1522 คณิตศาสตร์ 2 3 (3)
3000-1526 แคลคูลัส 1 3 (3)


2. หมวดวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 62 หน่วยกิต
2.1 วิชาชีพพื้นฐาน 15 หน่วยกิต
ให้เรียนรายวิชา ลำดับที่ 1 - 4 และเลือกเรียนรายวิชากลุ่มบริหารงานคุณภาพ 3000-010X และกลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 3000-020X กลุ่มละ 1 รายวิชา
รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต (ชั่วโมง)
3105-1001 การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 3 (4)
3105-1002 เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2 (3)
3105-1003 การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2 (3)
3105-1004 ดิจิตอลเทคนิค 2 (3)
3000-010X กลุ่มบริหารคุณภาพ 3 (3)
3000-020X กลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 3 (4)
หมายเหตุ รหัสวิชาที่มีอักษร X ให้เลือกเรียนจากกลุ่มวิชานั้นๆ ในภาคผนวกของหลักสูตร
2.2 วิชาชีพสาขาวิชา 28 หน่วยกิต
ให้เรียนรายวิชาลำดับ 1-10 และเลือกเรียนรายวิชาที่เหลือจนครบหน่วยกิตที่กำหนด
รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต (ชั่วโมง)
3105-2001 การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง 2 (3)
3105-2002 พัลส์เทคนิค 2 (3)
3105-2003 ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี 2 (3)
3105-2004 อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม 2 (3)
3105-2005 ระบบเสียง 2 (3)
3105-2006 ระบบภาพ 2 (3)
3105-2007 เทคนิคเครื่องรับส่งวิทยุ 2 (3)
3105-2008 ระบบโทรคมนาคม 2 (3)
3105-2009 ระบบโทรศัพท์ 2 (3)
3105-2010 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 (3)
3105-2011 การออกแบบวงจรดิจิตอล 2 (3)
3105-2012 ไมโครโพรเซสเซอร์ 2 (3)
3105-2013 เทคนิคการอินเทอร์เฟส 2 (3)
3105-2014 ไมโครคอนโทรลเลอร์ 2 (3)
3105-2015 การเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี 2 (3)
3105-2016 ระบบสื่อสารแอนะลอก 2 (3)
3105-2017 ระบบสื่อสารดิจิตอล 2 (3)
3105-2018 การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์ 2 (3)
3105-2019 คณิตศาสตร์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3 (3)
3105-2020 พื้นฐานสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 3 (3)
2.3 วิชาชีพสาขางาน ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
วิชาชีพสาขางาน แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชาชีพ ให้เลือกเรียนสาขางานใดสาขางานหนึ่ง หรือเลือกเรียนรายวิชาในสาขางานใด ๆ จนครบหน่วยกิตที่กำหนด
2. วิชาชีพสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต (ชั่วโมง)
3105-2201 งานบริการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 3 (4)
3105-2202 งานบริการระบบอินเทอร์เน็ต 3 (4)
3105-2203 งานซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 3 (4)
3105-2204 งานบริการคอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรม 3 (4)
3105-2205 ปัญหาพิเศษคอมพิวเตอร์ 1 3 (4)
3105-2206 ปัญหาพิเศษคอมพิวเตอร์ 2 3 (4)
3105-2207 วิทยาการก้าวหน้าคอมพิวเตอร์ 1 3 (4)
3105-2208 วิทยาการก้าวหน้าคอมพิวเตอร์ 2 3 (4)
3105-2209 ประดิษฐกรรมคอมพิวเตอร์ 3 (4)
3105-4201 ปฏิบัติงานเทคนิคคอมพิวเตอร์ 1 4 (*)
3105-4202 ปฏิบัติงานเทคนิคคอมพิวเตอร์ 2 4 (*)
3105-4203 ปฏิบัติงานเทคนิคคอมพิวเตอร์ 3 4 (*)
3105-4204 ปฏิบัติงานเทคนิคคอมพิวเตอร์ 4 4 (*)
สำหรับการเรียนการสอนระบบทวิภาคีให้สถานศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชา มาตรฐานรายวิชา กำหนดแผนการฝึกและการประเมินผล โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 40ชั่วโมงมีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
2.4 โครงการ 4 หน่วยกิต
รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต (ชั่วโมง)
3105-6001 โครงการ 4 (*)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ จากรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 ทุกประเภทวิชา
4. ฝึกงาน (ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน)
ให้สถานศึกษานำรายวิชาในหมวดวิชาชีพไปจัดฝึกในสถานประกอบการ อย่างน้อย 1 ภาคเรียน
5. กิจกรรมเสริมหลักสูตร 120 ชั่วโมง
ให้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ภาคเรียนละ 40 ชั่วโมง รวมไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง